สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ


เว็บไซด์สำหรับ...การจัดการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและองค์ความรู้ สำหรับคณาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจ ทั้งภายในและภายนอกสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


ข่าวและประกาศของเว็บ

ESG คืออะไร ???

โดย Somphoom Sawaengkun -


ESG คือ แนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน โดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่คำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance : ESG) ซึ่งปัจจุบัน ESG ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก เนื่องจากเป็นแนวคิดที่นักลงทุนใช้ประกอบการพิจารณาการลงทุน โดยจะให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจ ที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้าน ที่ใช้เป็นตัวชี้วัด ได้แก่
   1. Environment (สิ่งแวดล้อม) ชี้วัดความรับผิดชอบของบริษัทที่มีต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas), การสร้างของเสีย, การปล่อยมลพิษ เป็นต้น
   2. Social (สังคม) ใช้วัดบริษัทมีการจัดการความสัมพันธ์กับ พนักงาน ลูกค้า หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ชุมชนท้องถิ่น และผู้ทำงานใน Value Chain ทั้งหมดอย่างไร อาทิ สุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงาน ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เป็นต้น 
   3. Governance (ธรรมาภิบาล) ชี้วัดว่าบริษัทมีการจัดการกำกับดูแลอย่างไร เพื่อให้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส  ตรวจสอบได้
   ซึ่งแนวคิด ESG นี้จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือแก่ธุรกิจ ที่สะท้อนความรับผิดชอบของธุรกิจที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย และการนำเสนอผลการดำเนินงานในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน  และยังสอดคล้องกับ
SDGs คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) อันเป็นเป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติ (United Nations) ในการแก้ปัญหาความยากจน ความหิวโหย ลดความเหลื่อมล้ำ ไปจนถึงการสร้างหลักประกันสุขภาพ และส่งเสริมสวัสดิภาพของประชากร เป็นต้น ที่มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย โดยแบ่งออกได้ 5 กลุ่ม ได้แก่
   1. สังคม (PEOPLE)
   2. เศรษฐกิจ (PROSPERITY)
   3. สิ่งแวดล้อม (PLANET)
   4. สันติภาพ และความยุติธรรม (PEACE)
   5. หุ้นส่วนการพัฒนา (PARTNERSHIP)
 
   ทั้งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 เป็นต้นมา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้มีการจัดทำ “รายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI (Thailand Sustainability Investment)” ซึ่งเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนด้วย โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ 👉https://setsustainability.com/page/sustainable-investment 


เศรษฐศาสตร์ตายแล้วจริงหรือ ???

โดย Somphoom Sawaengkun -

คนรักเศรษฐศาสตร์ คนเรียนเศรษฐศาสตร์ ห้ามพลาด!!!

เมื่อโลกเปลี่ยน เศรษฐศาสตร์ก็ต้องเปลี่ยน??

จากศาสตร์ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในรอบทศวรรษจนมีคำกล่าวว่า ‘เศรษฐศาสตร์ตายแล้ว’ องค์ความรู้วิชาเศรษฐศาสตร์ปรับตัวอย่างไรและกำลังเคลื่อนไปในทิศทางไหน

สำรวจโลกใหม่ของเศรษฐศาสตร์กับ 4 นักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ เพื่อตอบคำถามว่า ‘เศรษฐศาสตร์ตายแล้วจริงหรือ?’ กับคลิปนี้  👉 https://www.facebook.com/watch/?v=2420098761610602


Sustainable Development Goals –SDGs

โดย Somphoom Sawaengkun -


   หลังจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ( Millennium Development Goals – MDGs ) ซึ่งต้องการเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้สิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ.2558 แล้ว...องค์การสหประชาชาติได้จัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ขึ้นทั้งหมด 17 ข้อ โดยมุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ให้สำเร็จภายในปี พ.ศ.2573 ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์ทั้งสิ้น อาทิ  👇

- เป้าหมายที่1. การขจัดความยากจนทุกรูปแบบทุกสถานที่ (No Poverty)

- เป้าหมายที่ 8. การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืนการจ้างงานที่มีคุณค่า (Decent Work and Economic Growth)   

- เป้าหมายที่10. เรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ (Reduced Inequalities) 

- เป้าหมายที่12. การรับรองแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production) 

- เป้าหมายที่13. การดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ (Climate Action) เป็นต้น

   ดังนั้น  การศึกษาแนวคิดและหลักการในทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องจึงเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีความจำเป็นที่จะช่วยให้ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาครัฐ เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปเป็นแนวทางในการสร้างความสมดุลให้กับเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชากรโลกสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน...เนื่องจากหลักการพื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์ก็คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เพื่อตอบสนองในสิ่งที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ภาคส่วนต่างๆของสังคม นั่นเอง  (ถ้าอยากทราบว่ามีวิชาไหนที่เกี่ยวข้องบ้าง...ลองเข้ามาศึกษากันดูนะครับ)🙋‍♂️🙋‍♀️👩‍🏫

หัวข้อเก่า...