Logo_Suan_Color

 
 

 


รายละเอียดของรายวิชา(Course Specification)

รหัสวิชา   MKT ๒๒๐๒   รายวิชา การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชา บริหารธุรกิจ คณะ/วิทยาลัย   วิทยาการจัดการ       มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ภาคการศึกษา  ๑ ปีการศึกษา  ๒๕๖๕

 

หมวดที่ ๑  ข้อมูลทั่วไป

. รหัสและชื่อรายวิชา          

รหัสวิชา                        MKT ๒๒๐๒

ชื่อรายวิชาภาษาไทย        การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม

ชื่อรายวิชาภาษาอังกฤษ   Green Marketing

 

. จำนวนหน่วยกิต                               ๓ (๓-๐-๖)      

                                                           

. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

๓.๑  หลักสูตร                                       หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด  

๓.๒ ประเภทของรายวิชา                        หมวดวิชาเฉพาะ(วิชาแกน)

 

.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน                               

๔.๑ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา              ดร.ลดาพร  พิทักษ์

๔.๒ อาจารย์ผู้สอน                                 ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

 

๕.  สถานที่ติดต่อ                           ห้องพักอาจารย์  ชั้น ๔ อาคาร  ๕๖ คณะวิทยาการจัดการ

E – Mail: Ladaporn.pi@ssru.ac.th

 

. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน            

๖.๑ ภาคการศึกษาที่  ๒/๒๕๖๕    ชั้นปีที่   ๓

๖.๒ จำนวนผู้เรียนที่รับได้ ประมาณ  ๒๔๐  คน

 

. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน(Pre-requisite)  (ถ้ามี)    หลักการตลาด/การบริหารการตลาด

 

. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน(Co-requisites)(ถ้ามี)   ไม่มี

 

. สถานที่เรียน ๕๖/๕๖๔๖, ๕๖๔๗, ๕๖๓๘, ๕๗/๕๗๔๓ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

๑๐.วันที่จัดทำหรือปรับปรุง               วันที่ ๒๕ เดือน    มิถุนายน   พ.ศ. ๒๕๖๕

รายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

 

 

หมวดที่๒จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

 

. จุดมุ่งหมายของรายวิชา

(๑) มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการตลาดและวิธีการบริหารการตลาดเชิงธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม

() สามารถวางแผนการตลาดด้วยการใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมระดับต่างๆ

() มีการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ซื้อด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการแบ่งส่วนตลาด การเลือกส่วนตลาด ตลาดเป้าหมาย และการวางตำแหน่งกลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

() กำหนดกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาด งบประมาณการตลาด และการดำเนินการตลาดสอดคล้องกับฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายการผลิต และฝ่ายการตลาดขององค์กร

(๕) มีทักษะในการวิเคราะห์โอกาสการตลาดและการแก้ปัญหาการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนได้ และ

            (๖) เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในองค์กรธุรกิจที่เน้นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป

. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

       () ปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

       (๒) สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารการตลาดผ่านสื่อต่างๆ และประยุกต์กับการวิเคราะห์และใช้งานได้รวดเร็ว

         () บูรณาการแนวความคิดการตลาดใหม่ นำผลการวิจัยการตลาด และนำเอาบทความเชิงวิชาการด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศประยุกต์ใช้กับการบริหารการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืนมากที่สุด

            (๔) นำบทเรียนการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริงมาสู่การนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมใหม่ตามบริบทของการตลาดในสังคมไทยเชิงการบริหารงานธุรกิจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมวดที่ ๓ ลักษณะและการดำเนินการ

 

. คำอธิบายรายวิชา

                        แนวความคิดทางการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงความสำคัญต่อการปรับกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคการจัดการทางการตลาดเพื่อการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทางสังคมตลอดจนแนวทางการแก้ไขโดยใช้เครื่องมือทางการตลาดให้เหมาะสมกับสถานการณ์

Concepts of green marketing; Analysis of marketing issues affecting the needs to adjust marketing mix strategies in corresponding to changes of consumers; Marketing management for social and natural environment protection and conservation; and Use of appropriate marketing tools to solve the problems

 

           

. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

 

บรรยาย

(ชั่วโมง)

สอนเสริม

(ชั่วโมง)

การฝึกปฏิบัติ/งาน

ภาคสนาม/การฝึกงาน(ชั่วโมง)

การศึกษาด้วยตนเอง

(ชั่วโมง)

  ๓ ชั่วโมง ต่อสัปดาห์

(๑๖x=๔๘)

สอนเสริมตามสถานการณ์และความต้องการของนักศึกษา

   ฝึกปฏิบัติด้วยการเขียนแผนการตลาดประจำปีในธุรกิจ ๔๕ ชั่วโมง

 ๑๕ ชั่วโมง ต่อสัปดาห์

 

 

. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

อาจารย์จัดชั่วโมงให้คำปรึกษา (Office hours) อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยตกลงกับนักศึกษาที่ต้องการรับคำปรึกษานอกเวลาเรียน

            (ผู้รับผิดชอบรายวิชาโปรดระบุข้อมูล   ตัวอย่างเช่น  ๑ ชั่วโมง / สัปดาห์)

            (๑) ปรึกษาด้วยตนเองที่ห้องพักอาจารย์ผู้สอน ชั้น ๔ อาคาร ๕๖  คณะวิทยาการจัดการ

            (๒) ปรึกษาผ่านโทรศัพท์ที่ทำงาน / มือถือ  หมายเลข ๐๖-๒๓๙๔๑๖๒๙  

            (๓) ปรึกษาผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-MailLadaporn.pi@ssru.ac.th

            (๔) ปรึกษาผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ Line  ๐๖๒๓๙๔๑๖๒๙  

            (๕) ปรึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Internet/Web-board)  https://elfms.ssru.ac.th/ladaporn_pi/

 

 

 

 

 

 

หมวดที่ ๔ การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

 

๑. คุณธรรมและจริยธรรม

๑.๑   คุณธรรมและจริยธรรมที่ต้องพัฒนา

                        (๑) รู้จักใช้ดุลยพินิจ อย่างมีเหตุผล ตามกฎเกณฑ์ทางสังคม

                        () สร้างความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง กลุ่ม สังคม

                        () เป็นคนดี มีศีลธรรม และมีความเห็นชอบในสัมมาทิฐิ

            () มีความสามารถที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยมองเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

๑.๒   วิธีการสอน

(๑) ยกตัวอย่างองค์กรธุรกิจในแผนการตลาดเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งจะเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมทางการตลาดที่เกิดขึ้นในองค์กรและสังคมไทย

(๒) กรณีศึกษาด้านการตลาดเพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เน้นคุณธรรมและจริยธรรมทางการการตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้นักศึกษาได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน

(๓) มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากประเด็นด้านคุณธรรมและจริยธรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับวิธีการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมไทย

๑.๓    วิธีการประเมินผล

(๑) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการเรียน การสอน การตอบคำถาม และการนำเสนอแผนในชั้นเรียน

(๒) ประเมินจากความรับผิดชอบในการทำงานตามการมอบหมายทั้งที่เป็นรายงาน กรณีศึกษา และการเขียนแผนการตลาด โดยดูจากการร่วมมือกัน การเอาใจใส่ การตรงต่อเวลา ความสำเร็จของงาน และการนำเสนอรายงานในห้องเรียน

                        (๓) ประเมินจากพัฒนาการทางด้านความคิด พฤติกรรม และผลการทำงานของนักศึกษาภายหลังการศึกษาเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม

 

๒. ความรู้

๒.๑   ความรู้ที่ต้องพัฒนา

            (๑) ต้องมีองค์ความรู้ทางด้านแนวความคิดการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมภายในองค์กรธุรกิจ

(๒) กำหนดแนวทางการวางแผนการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยนำเอาหลักการและแนวความคิดการตลาดด้านต่างๆ ประยุกต์ใช้

(๓) สามารถวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมการตลาด การค้นหาโอกาส พฤติกรรมผู้บริโภคด้านสิ่งแวดด้อม กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และการใช้สื่อเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

(4) สามารถใช้กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับหน่วยงานภายในองค์กรธุรกิจ เช่น ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายการผลิต และฝ่ายการตลาด เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม

๒.๒   วิธีการสอน

(๑) บรรยาย นำเสนอเนื้อหา และกรณีศึกษาที่เกิดขึ้น โดยอภิปรายร่วมกัน พร้อมทั้งถามตอบเพื่อทดสอบองค์ความรู้จากเนื้อหาในแต่ละบทเรียนรู้ที่กำหนดเอาไว้

(๒) ทำแบบฝึกหัดท้ายบทและมอบหมายงานให้ทำ

(๓) วิเคราะห์กรณีศึกษาและการตลาดในองค์กรธุรกิจที่เน้นการทำการตลาดเพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคม และมอบหมายงานให้ปฏิบัติ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญ

๒.๓    วิธีการประเมินผล

(๑) สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

(๒)   การประเมินผลจากการแสดงความคิดเห็น องค์ความรู้ที่มี และหลักเหตุผลเชิงทฤษฎีต่างๆ

(๓)   การตั้งคำถามและการตอบคำถามของนักศึกษา

(๔)   ทำแบบทดสอบความรู้จากเนื้อหาที่เรียน

(๕) การนำเสนอแผนการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมหน้าห้องเรียน โดยเปิดอภิปรายผลและตอบข้อซักถามต่างๆ ที่เกิดขึ้น

๓. ทักษะทางปัญญา

๓.๑   ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา

            (๑) นักศึกษามีความสามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลการตลาดจากแหล่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

(๒) นักศึกษาสามารถคิด วิเคราะห์ ประมวลผล และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในองค์กรธุรกิจต่างๆ ได้อย่างมีเหตุผล

(๓) นักศึกษาสามารถวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมการตลาดต่างๆ และประยุกต์ใช้กับการวางแผนงานการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมขององค์กรธุรกิจได้อย่างถูกต้อง

๓.๒   วิธีการสอน

(๑) ใช้วิธีการบรรยายเนื้อหาตามบทเรียนในหนังสือด้วยการใช้สื่อผ่านโปรแกรม PowerPoint โดยยกตัวอย่างประกอบการสอน กรณีศึกษา ผลการวิจัย และบทความที่เกี่ยวข้องเพื่อให้นักศึกษาร่วมแสดงความคิดเห็น

(๒) แบ่งกลุ่มเพื่อจัดทำแผนการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมตามโครงสร้าง เช่น การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมการตลาด พฤติกรรมผู้ซื้อ การแบ่งส่วนตลาด กำหนดตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ และใช้กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดที่สอดคล้องกับสถานการณ์การตลาดและบริบทหน่วยงานภายในองค์กรธุรกิจ

(๒)   การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือกำหนดตลาดเป้าหมายกลุ่มผู้เน้นสิ่งแวดล้อม

(๓)   วางแผนการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกิจกรรมการตลาดประจำปี

(๕) การนำเสนอแผนการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่หน้าห้องเรียนและอภิปรายกลุ่ม

๓.๓    วิธีการประเมินผล

(๑) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนด้วยการเสนอแผนการตลาด มีการตอบคำถาม และร่วมการแสดงความคิดเห็นตามแผนการตลาดที่ได้เสนอ

(๒) ประเมินผลจากความสมบูรณ์ของแผนการตลาดที่วางไว้ วิธีการนำเสนอหน้าห้องเรียน และการตอบข้อซักถามต่างๆ จากเพื่อนร่วมเรียน และผู้สอน

(๓) ผลงานที่เป็นการวางแผนการตลาดของธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง

(๔) ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด

 

๔. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

๔.๑ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา

(๑) ทักษะในการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อการฝึกปฏิบัติ และการมีปฏิสัมพันธ์การทำงานระหว่างกัน โดยรู้จักบทบาทของการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

(๒) ทักษะการทำงานร่วมกัน การแบ่งงานกันทำ การนำเสนอผลงาน การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และตอบข้อซักถามด้วยการอภิปรายผลงานร่วมกัน

            (๓) ทักษะในการสื่อสารเพื่อความเข้าใจในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

๔.๒ วิธีการสอน

(๑) มอบหมายให้ทำงานเป็นกลุ่ม ด้วยการเขียนและการวางแผนการตลาด การสำรวจข้อมูลตามแหล่งต่างๆ รวมถึงทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นสิ่งแวดล้อมการตลาดต่างๆ     

(๒) ให้ค้นหาข้อมูลข่าวสารการตลาดที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต เว็บไซท์ รายงานการวิจัย และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และวางแผนการตลาดประจำปี

         ๔.๓ วิธีการประเมินผล

(๑) มอบหมายให้ทำงานเป็นกลุ่ม ด้วยการเขียนและการวางแผนการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วยการสำรวจข้อมูลตามแหล่งต่างๆ รวมถึงทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นสิ่งแวดล้อมการตลาดต่างๆ     

(๒) ให้ค้นหาข้อมูลข่าวสารการตลาดที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต เว็บไซท์ รายงานการวิจัย และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และวางแผนการตลาดประจำปี      

๕. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

๕.๑ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา

            (๑) ทักษะการวิเคราะห์จากกรณีศึกษา การใช้ตัวเลขในการวิเคราะห์และการวางแผนการตลาดประจำปี เช่น ยอดขาย ต้นทุน กำไร จำนวนสาขา และผลลัพธ์ที่ได้จากการวางแผนการตลาด

(๒) ทักษะการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อค้นคว้าข้อมูลข่าวสารการตลาดจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร ออนไลน์ และผลการวิจัยต่างๆ เป็นต้น

๕.๒ วิธีการสอน

(๑) ให้นักศึกษานำเสนอผลงานด้านการวางแผนการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมตามที่ได้รับมอบหมาย โดยให้กลุ่มต่างๆ ที่ได้มีการแบ่งกลุ่มได้นำเสนอแผนการตลาดประจำปี 1 แผนงาน

(๒) ให้นักศึกษาแผนการตลาดด้วยผลการวิเคราะห์และแผนงานต่างๆ ตามการวางแผนการตลาด

๕.๓ วิธีการประเมินผล

(๑) ประเมินผลจากผลความถูกต้องตามขั้นตอนและโครงสร้างของการวางแผนการตลาดประจำปีที่ได้มอบหมายให้ทำ

(๒)   ประเมินจากการนำเสนอแผนการตลาดหน้าห้องเรียนและจากการตอบข้อคำถามต่างๆ จากเพื่อนร่วมเรียนและผู้สอน

(๓) ประเมินผลจากการตอบคำถามต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนและหลักการค้นหาข้อมูลข่าวสารการตลาดผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ

๖. ด้านอื่นๆ

(๑) …………………………………………………………..………………………………….........................

(๒)  ……………………………………………………………………..…………………………………................

(๓)   ……………………………………………………………………..………………………………….......................................................

( ๔)   ...............................................................................................

(๕)  ……………………………………………………………………..…………………………………................

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมวดที่ ๕ แผนการสอนและการประเมินผล

๑.  แผนการสอน

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวน(ชม.)

กิจกรรมการเรียน

การสอน/สื่อที่ใช้

ผู้สอน

ความรู้ทั่วไปการตลาดในธุรกิจยุคปัจจุบัน และเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

 

1. แนะนําวิธีการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ เป้าหมาย เนื้อหารายวิชา เกณฑ์การวัดผล และประเมินผล แหล่งข้อมูล

2. บรรยายโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอภิปราย

3. ซักถามในประเด็นที่สนใจ/สงสัย

4. มอบหมายกิจกรรมนอกชั้นเรียน

5. ให้ทําคําถามทบทวนท้ายบท

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

·        ปัญหามลภาวะทางอากาศ

·        ปัญหาน้ำเน่าเสีย ปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาน้ำท่วม

·        ปัญหาขยะมูลฝอย

1. บรรยายโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอภิปราย

2. ซักถามในประเด็นที่สนใจ/สงสัย

3.ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน

4. มอบหมายกิจกรรมนอกชั้นเรียน

5. ให้ทําคําถามทบทวนท้ายบท

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (ต่อ)

·        ปัญหาพื้นที่ป่าลดลง

·        ปัญหาจำนวนสัตว์ป่าลดลง

·        ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน

·        ปัญหาอาหารที่มีสารพิษเจือปน

 

1. บรรยายโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอภิปราย

2. ซักถามในประเด็นที่สนใจ/สงสัย

3.ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน

4. มอบหมายกิจกรรมนอกชั้นเรียน

5. ให้ทําคําถามทบทวนท้ายบท

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม  แนวคิดกรีนมาร์เก็ตติ้งประสมทางการตลาด (Marketing Mix)

1. บรรยายโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอภิปราย

2. ซักถามในประเด็นที่สนใจ/สงสัย

3.ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน

4. มอบหมายกิจกรรมนอกชั้นเรียน

5. ให้ทําคําถามทบทวนท้ายบท

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและการวิเคราะห์โอกาสทางการตลาดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม

 

1. บรรยายโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอภิปราย

2. ซักถามในประเด็นที่สนใจ/สงสัย

3.ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน

4. มอบหมายกิจกรรมนอกชั้นเรียน

5. ให้ทําคําถามทบทวนท้ายบท

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

ลักษณะผู้บริโภคที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมผู้บริโภค

 

1. บรรยายโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอภิปราย

2. ซักถามในประเด็นที่สนใจ/สงสัย

3.ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน

4. มอบหมายกิจกรรมนอกชั้นเรียน

5. ให้ทําคําถามทบทวนท้ายบท

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

พฤติกรรมผู้บริโภคและสภาพแวดล้อมการตลาดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม

- การตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ก่อให้เกิดป]ญหา

- วิธีการลดและแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม

1. บรรยายโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอภิปราย

2. ซักถามในประเด็นที่สนใจ/สงสัย

3.ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน

4. มอบหมายกิจกรรมนอกชั้นเรียน

5. ให้ทําคําถามทบทวนท้ายบท

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

สอบกลางภาค

กลยุทธ์และยุทธวิธีการตลาดเพื่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม

–        กลยุทธ์และยุทธวิธีทางการตลาด

-         ข้อคํานึงถึงในการจัดการทางการตลาด

 

1. บรรยายโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอภิปราย

2. ซักถามในประเด็นที่สนใจ/สงสัย

3.ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน

4. มอบหมายกิจกรรมนอกชั้นเรียน

5. ให้ทําคําถามทบทวนท้ายบท

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

๑๐

ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

-         รูปแบบของปัญหาที่เกิดจากองค์กรธุรกิจ

-         หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา

1. บรรยายโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอภิปราย

2. ซักถามในประเด็นที่สนใจ/สงสัย

3.ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน

4. มอบหมายกิจกรรมนอกชั้นเรียน

5. ให้ทําคําถามทบทวนท้ายบท

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

๑๑

ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของ องค์กร (CSR)

- ความหมายและความสําคัญ

- แนวทางการแสดงความรับผิดชอบ

1. บรรยายโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอภิปราย

2. ซักถามในประเด็นที่สนใจ/สงสัย

3.ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน

4. มอบหมายกิจกรรมนอกชั้นเรียน

5. ให้ทําคําถามทบทวนท้ายบท

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

๑๒

องค์กรเพื่อสังคม (Social enterprise)

- การดําเนินขององค์กรธธุรกิจและองค์กรเพื่อสังคม

- กิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility)  CSR 

 

1. บรรยายโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอภิปราย

2. ซักถามในประเด็นที่สนใจ/สงสัย

3.ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน

4. มอบหมายกิจกรรมนอกชั้นเรียน

5. ให้ทําคําถามทบทวนท้ายบท

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

๑๓

กรณีศึกษา ตัวอย่างกิจกรรม (Corporate Social Responsibility)  CSR  ของแบรนด์ต่างๆ

1. บรรยายโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอภิปราย

2. ซักถามในประเด็นที่สนใจ/สงสัย

3.ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน

4. มอบหมายกิจกรรมนอกชั้นเรียน

5. ให้ทําคําถามทบทวนท้ายบท

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

๑๔

จริยธรรมทางการตลาดกับสิ่งแวดล้อม

ทางคุณธรรมจริยธรรมในการตลาดเพื่อ สังคมและสิ่งแวดล้อม

1. บรรยายโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอภิปราย

2. ซักถามในประเด็นที่สนใจ/สงสัย

3.ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน

4. มอบหมายกิจกรรมนอกชั้นเรียน

5. ให้ทําคําถามทบทวนท้ายบท

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

๑๕

การนําเสนอผลงาน  รายงานเกี่ยวกับการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม

1. นําเสนอกลุ่ม

2. มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีสนับสนุน

3. มีบุคลิกภาพ (ในและนอก) ตามความ เหมาะสม

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

๑๖

สรุปผลการเรียนทั้งหมด

สรุปผลการเรียนทั้งหมด ก่อนสอบปลายภาค

ดร.ลดาพร  พิทักษ์

ผศ.ดร. สุพัตรา กาญจโนภาส

อาจารย์ปัณณิกา โพธิเวชเทวัญ

๑๗

สอบปลายภาค

 

 

 

 

 

 

. แผนการประเมินผลการเรียนรู้

( ระบุวิธีการประเมินผลการเรียนรู้หัวข้อย่อยแต่ละหัวข้อตามที่ปรากฏในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบของรายวิชา

(Curriculum Mapping) ตามที่กำหนดในรายละเอียดของหลักสูตรสัปดาห์ที่ประเมินและสัดส่วนของการประเมิน)

ผลการเรียนรู้

วีธีการประเมินผลการเรียนรู้

สัปดาห์ที่ประเมิน

สัดส่วน

ของการประเมินผล

๑.๑  ๑.๒  ๑.๓

๑.๑ สังเกตการทำงานกลุ่ม  ความซื่อสัตย์  การมีน้ำใจความอดทนความวิริยะอุตสาหะของนักศึกษา และความซื่อสัตย์ในการสอบ

๑.๒  ประเมินจากความคิดเห็นในการอภิปรายแผนการตลาดร่วมกัน

๑.๓  ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

ทุกสัปดาห์

๑๐

๒.๑ ๒.๓

๒.๑ สอบกลางภาค

๒.๒ สอบปลายภาค

๑๗

๓๐

๓๐

๓.๒

๓.๑ ประเมินจากทักษะการคิดของนักศึกษา

๓.๓ ประเมินจากการนำเสนอการอภิปรายกลุ่ม

๑๖

๒๐

๔.๑,๔.๓

๔.๑ ประเมินผลจากการเข้าร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม

๔.๒ ประเมินจากภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม

๔.๓ ประเมินจากความสัมพันธ์ของทีมงาน

๑๖

๕.๒, ๕.๓

๕.๑ ประเมินผลจากความสามารถการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา

๕.๒ ประเมินผลจากผลลัพธ์ของแผนการตลาดที่เขียนรายงานและการนำเสนอหน้าห้องเรียน

๑๖

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมวดที่๖ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

. ตำราและเอกสารหลัก

๑.๑ พัฒนา ศิริโชติบัณฑิต. ๒๕๕๙. การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ.

๑.๒ Jacquelyn A. Ottman ผู้เขียน ,วีระ มานะรวยสมบัติ ผู้แปล ๒๕๕๔. Green Marketing พิมพ์เขียวการตลาดวิวัฒน์โลก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เออาร์ไอพี

๑.๓ Green Marketing และการบริหารทางการตลาดอื่นๆ

             

.เอกสารและข้อมูลสำคัญ

แผนการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม         

 

. เอกสารและข้อมูลแนะนำ

๓.๑ Power Point ในบทเรียนต่างๆ พร้อมรูปภาพประกอบ

๓.๒ แผนการตลาดต่างๆ

๓.๓ ผลการวิจัยและบทความด้านการตลาดเชิงธุรกิจต่างๆ

๓.๔ กรณีศึกษาการตลาดจากองค์กรธุรกิจในประเทศไทยและต่างประเทศ

๓.๔ facebook,Environman, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

๓.๕ Youtube

๓.๖  Website ขององค์องค์กรธุรกิจ       

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมวดที่๗ การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

 

. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

            ๑.๑อธิบายความสำคัญของการปรับปรุงรายวิชาให้มีความทันสมัยโดยการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเนื้อหาของหลักสูตร

๑.๒ ประเมินศักยภาพก่อนและหลังเรียนโดยนักศึกษา

          ๑.๓ ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาของหลักสูตรว่าควรปรับปรุงเรื่องใด   เพื่อประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานในทางปฏิบัติ

 

. กลยุทธ์การประเมินการสอน

            ๒.๑ ประเมินโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เช่น ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ

๒.๒ ประเมินผลตามวัตถุประสงค์ของแผนการเรียนที่ผู้สอนกำหนดไว้

๒.๓ ประเมินจากผลการเรียนของนักศึกษา

 

. การปรับปรุงการสอน

๓.๑จากผลการประเมินในข้อ 2 โดยผู้สอนจะนำข้อเสนอแนะต่างๆ มารวบรวมประเด็นที่จะต้องทำการปรับปรุงซึ่งเป็นถือว่าเป็นจุดด้อยหรืออุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อจะนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในครั้งต่อไป

๓.๒ ให้นักศึกษาเสนอแนะวิธีการสอนที่ต้องการเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนให้ดีขึ้น

๓.๓ ศึกษาเทคนิคระบบการเรียนการสอนใหม่ๆ ที่สามารถจะปรับเปลี่ยนให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมต่างๆ ของคณะ

 

. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

            ๔.๑ พิจารณาจากคุณภาพของงานเดี่ยวและงานกลุ่มที่ได้นำเสนอในชั้นเรียนตลอดทั้งภาคเรียน

๔.๒ ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นและการตอบคำถามที่สอดคล้องต่างๆ ภายใต้หลักการทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิธีการตลาดเชิงธุรกิจ

๔.๓ ประเมินความเหมาะสมของแผนการสอนรายวิชา อาทิ กิจกรรมการเรียนการสอน

การมอบหมายงาน การวัดผลการเรียนกับคำอธิบายรายวิชาและวัตถุประสงค์ของรายวิชา

 

. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

๕.๑ จากข้อมูล 1-4 นำมาสรุปประเด็นที่ต้องปรับปรุงให้ได้มาตรฐานดียิ่งขึ้นไป

          ๕.๒ ศึกษาข้อมูลปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยนำมาปรับปรุงเพิ่มเติม และเสริมในส่วนของเนื้อหาทางการตลาดเพื่อให้มีความทันสมัยต่อไป

 ๕.๓ วางแผนและปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา โดยนำสิ่งที่จะต้องทำการปรับปรุงไปใช้ประโยชน์ โดย นำกลับมาทบทวน พัฒนา และปรับปรุงได้อย่างต่อเนื่อง

           ๕.๔ มีการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนไปสู่การบริการวิชาการสู่ชุมชน โดยการจัดอบรมหรือสัมมนาในต่างๆ ที่จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนานักการตลาดและผู้ประกอบการ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มในการดำเนินงานด้านการตลาดและการบริหารธุรกิจได้อย่างมีจริยธรรม

 


แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

ตามที่ปรากฏในรายละเอียดของหลักสูตร (Programme Specification) มคอ. ๒

รายวิชา

คุณธรรม จริยธรรม

ความรู้

ทักษะทางปัญญา

ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ทักษะด้านอื่น ๆ

˜ความรับผิดชอบหลัก                                                        ™ความรับผิดชอบรอง

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

 

รหัสวิชา  MKT  ๓๓๐๓

ชื่อรายวิชา

(การตลาดเพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม)

(Marketing  For  Sustainable  Social  and Environment)

˜

˜

™

˜

˜

˜

™

™

™

™

™

™

™

˜

™

 

 

 

 

 

 

 

 

ความรับผิดชอบในแต่ละด้านสามารถเพิ่มลดจำนวนได้ตามความรับผิดชอบ


คำอธิบายรายวิชา

หลักการตลาด

Principles of Marketing

ความหมาย และความสำคัญของการตลาด ในฐานะเป็นกิจกรรมหลักทางธุรกิจ แนวความคิดหรือปรัชญาทางการตลาด กลยุทธ์ด้านการวางแผน การกำหนดส่วนประสมทางการตลาด ระบบการตลาดและการศึกษาตลาดเป้าหมาย การสร้างแรงจูงใจและการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค การแบ่งประเภทของตลาดและเครื่องมือทางการตลาด

The meaning and importance of marketing as one of the main business activity, marketing concepts or philosophy, strategic planning, marketing mix, marketing system and the target market, motivation building and a study of consumer behavior and an assortment of marketing and other marketing tools.